Tire Dimension ขนาดยาง
ตัวอย่างเช่น 205/60HR-15
ตัวเลขแรกคือขนาดความกว้างของยาง (side wall ซึ่งจะกว้างกว่าหน้ายางที่สัมผัสพื้น ซึ่งหลายท่านเข้าใจผิด
ตัวเลขที่สองคือ aspect ratio หรือที่เราชอบเรียกว่า ซีรีส์ของยาง เวลาไปซื้อ ยางซีรีส์ 50 45 หรือ 40 เตี้ยสุดๆ
เป็นการเทียบขนาด ความสูงของยาง(แก้มยาง) ต่อความกว้างของยาง เช่นในกรณีถ้าตัวเลขเป็น 60 และยางกว้าง
205 มิลลิเมตร ความสูงของยาง(แก้มยาง)จะเท่ากับ 123 มิลลิเมตร (205 x 60/100) ---> 60 % ของ 205
ตัวเลขสุดท้าย คือความสูงของวงล้อ มีขนาดเป็นนิ้ว (หรือที่เราเรียกว่าขอบวงล้อ เป็น 15 หรือ 16 นิ้ว หรือถ้าวงกว้าง
เช่น 20นิ้ว เป็นต้น)

เราสามารถทราบส่วนสูงของวงล้อรวมยางได้ ตัวอย่างเช่น
205/60HR15
431.8
205mm x .60=123mm(แก้มยาง) x 2 = 246mm(ด้านบนรวมด้านล่าง) + 381 mm(15")(ขอบวงล้อ)
= 627 mm or 24.685"
ตัวเลขที่คำนวณได้มีความสำคัญคือ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนขนาดยางให้หน้ากว้างขึ้น เช่น เป็น 225 mm และวงล้อเป็น 17 นิ้ว
เพื่อเพิ่มหน้าสัมผัสและขนาดล้อแม็กใหญ่ขึ้นเพื่อความสวยงาม ซีรีส์ ก็ต้องต่ำลงเป็น 45(แก้มเตี้ยลง)
เพื่อให้ขนาดของวงล้อทั้งหมด ใกล้เคียง 627 mm เพื่อให้เข็มไมล์ไม่เพี้ยนจากการที่ล้อใหญ่เกินไปหรือเล็กไป นอกจากนั้น
ถ้าล้อโดยรวมใหญ่ขึ้น รถก็ต้องใช้แรงฉุดมากขึ้น อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันหรือความสึกหรอก็ต้องเพิ่มขึ้น

Speed rating ตัวเลขต่อท้ายขนาดยาง
เช่น 205/60HR15 ;H คือ ค่า speed rating(อัตราความเร็วสูงสุดที่ยางทนได้) อย่าลืมว่าค่านี้ ใช้ได้เฉพาะยางใหม่
ที่ทำการทดสอบในห้องทดลอง มีการเติมลมที่มาตรฐาน และไม่เคยโดนปะ หรือเจาะมาก่อน ค่านี้แปลงจาก กม/ชม.
มาเป็น ไมล์/ชม.
Speed Rating Miles/Hour Kilometers/Hour การใช้
N= 87 MPH, 140km/h, ยางอะไหล่Spare Tires
P= 93 MPH, 150km/h
Q= 99 MPH, 160km/h, Winter, LT Tires
R= 106 MPH, 170km/h, LT Tires
S= 112 MPH, 180km/h
T= 118 MPH, 190km/h
U= 124 MPH, 200km/h
H= 130 MPH, 210km/h, Sport Sedans
V= 149 MPH, 240km/h, Sports Cars
Z= 149 MPH, 240km/h and over, Sports Cars
W= 168 MPH, 270km/h, Exotic Sport Cars
Y= 186 MPH, 300km/h, Exotic Sport Cars
เช่นยางที่มีสมรรถนะสูง ๆ หน้ากว้าง ซีรีส์ต่ำ ค่าความเร็วสูง เช่น P245/40ZR19 ก็จะมีขนาดแม็กใหญ่ แต่แก้มเตี้ย
ยางสำหรับรถทั่ว ๆ ไป เช่น 185/50 R15 85 H ก็สามารถใช้ในความเร็วไม่เกิน 210 กม.ชม.
อาจจะเคยสังเกตดูและสงสัยว่าทำไมบางที ตำแหน่งของ Speed Rating มันอยู่ต่างๆที่กันไป เช่น 205/60HR-15 หรือไม่ก็
205/60HR-15 89H หรือไม่ก็ 205/60R-15 89H
คำตอบก็คือ ไม่ต้องสงสัย ตราบใดที่ไม่มี “Z” ปนอยู่ในเลขชุดเหล่านั้น มันแปลความออกมาได้อย่างเดียวเหมือนกัน
(ไม่ต้องสนใจว่ามันเขียนมาใน Pattern ไหน) คือคุณจะต้องขับไม่เกินความเร็วของ Code นั้นๆ
ทีนี้มาถึงตัว “Z” ซะทีนึง ตัว “Z” เนี่ยจะหมายถึง ขีดจำกัดล่างที่ 149 Mph (แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามขับต่ำกว่า 149 Mph
นะครับ) และ Pattern ที่เขียนจะบอกถึงขีดจำกัดบน ของมัน เอาละ ลองมาดูตัวอย่างพร้อมแปลกันดูแต่ละ Pattern
225/50 ZR-16 แปลว่าไม่มีขีดจำกัดบน จะเหยียบเท่าไหร่ว่าไปเลย
205/45 ZR-17 88W แปลว่านอนใจได้ถึงแม้จะเกิน 149 Mph ขึ้นไปแล้ว แต่ไม่ควรเกิน 168 Mph
(โปรดสังเกต “W” ด้านหลัง)
205/35 ZR-19 99Y เหมือนอันบน แต่พอถึง 186 Mph เบาได้แล้ว (โปรดสังเกต “Y” ด้านหลัง)
สิ่งสำคัญอื่นๆของยาง
ความดันลมยาง ความดันลมของยาง สิ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง ความดันลมยาง จะเป็นตัวกำหนด สมรรถนะการขับขี่
ความทนทาน และ ความปลอดภัย โดยปกติแล้ว บริษัทผู้ผลิตรถ จะคำนวณจากน้ำหนักรถ หน้ายางและขนาดยาง
เพื่อกำหนดตัวเลข คร่าว ๆ ในสองลักษณะคือ ขณะไม่บรรทุก และขนาดบรรทุกหนัก โดยเราจะพบตัวเลขนี้ได้ในหนังสือคู่มือ
หรือบางรุ่นอยู่ที่ฝาถังน้ำมัน ประตูด้านคนขับหรือหลังคนขับ
จำไว้ว่า ความดันที่วัดนี้เป็นการวัดขณะยาง เย็น ซึ่งเวลาที่เหมาะที่สุดคือเช้า ก่อนขับรถออกไป พึงระลึกว่า แม้แต่แค่อุณหภูมิขึ้น
เล็กน้อย ยางที่โดนแดด ก็จะมีความดันสูงขึ้นกว่าค่าจริง โดยเฉลี่ย 1 psi ต่อ 10 องศาฟาเรนไฮต์ อากาศในเมืองไทยสามารถ
แตกต่างจาก 20 องศาตอนเช้า ถึง 40 องศาได้ ซึ่งโดยเฉลี่ย อาจทำให้ความดันเปลี่ยนได้ถึง 2-3 psi และถ้าเกิดความผิดพลาด
ความดันลดลงจากที่แนะนำเพียง 6 psi หรือประมาณ 20% ก็จะเกิดความเครียดของยางสูงและยางระเบิดได้
การเติมลงยางน้อยไป โดยเฉพาะการไปวัดเมื่อขับรถไปนาน ๆ โอกาสจะเติมลมได้น้อยกว่าปกติได้ ผู้ขับขี่ที่ขับทางไกลมักจะเติม
มากกว่าที่แนะนำประมาณ 2-5 psi การเติมลมน้อยไป ทำให้สมรรถนะการขับขี่แย่ลงมาก โดยเฉพาะการเลี้ยวโค้ง และอายุของ
ยางอาจสั้นกว่าเดิมถึง 25% สูญเสียน้ำมันมากกว่าปกติถึง 5% และมีความร้อนสะสมถึงขั้นยางระเบิดได้ง่าย ยกเว้นบางกรณี
การเติมยางให้ลดลงกว่าปกติ มีประโยชน์อยู่ในแง่หนึ่งคือในกรณีขับขี่หน้าฝน เพื่อเพิ่มพื้นที่ยางสัมผัสถนนและลดอาการเหินน้ำ
(hydroplaning) บางครั้งถ้าสังเกตการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง จะมีการเปลี่ยนยางทันทีถ้าเริ่มมีฝนตก เพื่อเอายางที่หน้ากว้างและ
อ่อนกว่าปกติมาใช้
การเติมลมมากไป ทำให้ยางอาจแตกได้ถ้าเจอของมีคมหรือหลุม และเพิ่มความกระด้าง การสึกของยางอาจสึกมากขึ้นที่ตรงกลาง
ของยาง แต่ข้อดีคือ การเข้าโค้ง การเร่งแซงจะดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันอาจเกิดการลื่นไถลมากกว่าในทางที่ลื่น น้ำ หรือทราย
ความดันลม ต้องมีการวัดอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะมีโอกาสลดลงได้ตลอดเวลา
No comments:
Post a Comment